วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ธงชาติไทย


ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน เหตุที่เรียกชื่อว่าธงไตรรงค์เพราะสีที่ประกอบเข้าเป็นธงชาติมี 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน (สีขาบ)


โดยสื่อความหมายถึงสถาบันหลักของชาติ 3 สิ่ง ดังนี้                                                          
1. สีแดง หมายถึง ชาติ 


2. สีขาว หมายถึง ศาสนา


3. สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์




ธงชาติไทยสมัยต่างๆ
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325 (ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398 (ธงเรือเอกชน)
การบังคับใช้ : ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พ.ศ. 2325 - 2360
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พ.ศ. 2360 – 2398
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พ.ศ. 2398 – 2459
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129

พ.ศ. 2459 – 2460
การบังคับใช้ : พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

พ.ศ. 2459 - 2460
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459 (ในชื่อ "ธงค้าขาย")

พ.ศ. 2460 – ปัจจุบัน
การบังคับใช้ : พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น