วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ภูเขาไฟฟูจิยามา Mount Fuji


ภูเขาไฟฟูจิยามาเป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว ที่มีความงามจนเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลก และกลายเป็นสัญลักษณ์ ประจำชาติของญี่ปุ่นอีกอย่างหนึ่ง ภูเขานี้อยู่ห่างจากกรุงโตเกียว 70 ไมล์ ยอดสูง 12,385 ฟุต มีปล่องภูเขาไฟ ที่ดับแล้ว วัดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ประมาณ 2,000 ฟุต มีลักษณะเป็นรูปฝาชีครอบ ฐานข้างล่างแผ่กว้างออก วัดโดยรอบได้ประมาณ 100 กิโลเมตร มีหิมะขาวโพลนปกคลุมอยู่ตลอดปี บริเวณโดยรอบภูเขาไฟฟูจิยามา มีสวนสาธารณะ มีสถานที่ว่ายน้ำ อาบน้ำ มีทะเลสาบกว้างใหญ่ และทัศนียภาพที่งดงาม ชาวญี่ปุ่นทุกคนต้องดินทางมาเที่ยวที่ ภุเขาไฟนี้อย่างน้อยก็ครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อขอพรจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่บนยอดเขา
การที่ปีนภูเขาไฟฟูจิในตอนกลางคืน เพราะ เมื่อขึ้นไปถึงยอดเขาแล้วเราก็จะได้เห็นพระอาทิตย์ขึ้นพอดี ซึ่งสวยงามมาก ส่วนมากแล้วชาวญี่ปุ่นจะใช้เวลา ประมาณ 2 วันในการปีนภูเขาไฟฟูจิ ซึ่งระหว่างทางก็จะมีที่พัก ให้สำหรับนักปีนเขาอยู่ตลอดทาง ข้างบนยอดเขาฟูจินั้นยังมีโทรศัพท์และตู้ไปรษณีย์สำหรับผู้ที่สนใจจะปีนก็ สามารถซื้อไม้ที่เชิงเบา เพื่อที่จะเอาไว้ทำเครื่องหมายในแต่ละจุดที่เดินผ่าน






วันพุธที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2554

ธงชาติไทย


ธงชาติไทย หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ธงไตรรงค์ มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า กว้าง 6 ส่วน ยาว 9 ส่วน ด้านกว้างแบ่งเป็น 5 แถบตลอดความยาวของผืนธง ตรงกลางเป็นแถบสีน้ำเงินแก่กว้าง 2 ส่วน ต่อจากแถบสีน้ำเงินแก่ออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีขาวกว้างข้างละ 1 ส่วน ต่อจากแถบสีขาวออกไปทั้ง 2 ข้างเป็นแถบสีแดงกว้างข้างละ 1 ส่วน เหตุที่เรียกชื่อว่าธงไตรรงค์เพราะสีที่ประกอบเข้าเป็นธงชาติมี 3 สี คือ สีแดง สีขาว และสีน้ำเงิน (สีขาบ)


โดยสื่อความหมายถึงสถาบันหลักของชาติ 3 สิ่ง ดังนี้                                                          
1. สีแดง หมายถึง ชาติ 


2. สีขาว หมายถึง ศาสนา


3. สีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์




ธงชาติไทยสมัยต่างๆ
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2325 (ธงเรือหลวง)
สมัยอยุธยา - พ.ศ. 2398 (ธงเรือเอกชน)
การบังคับใช้ : ใช้เป็นธรรมเนียมสืบมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

พ.ศ. 2325 - 2360
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พ.ศ. 2360 – 2398
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

พ.ศ. 2398 – 2459
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชบัญญัติว่าด้วยแบบอย่างธงสยาม ร.ศ. 110
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 116
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 118
พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129

พ.ศ. 2459 – 2460
การบังคับใช้ : พระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 (ธงราชการ)
พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459

พ.ศ. 2459 - 2460
การบังคับใช้ : พระบรมราชโองการ ประกาศเพิ่มเติมและแก้ไขพระราชบัญญัติธง ร.ศ. 129 พ.ศ. 2459 (ในชื่อ "ธงค้าขาย")

พ.ศ. 2460 – ปัจจุบัน
การบังคับใช้ : พระราชบัญญัติแก้ไขพระราชบัญญัติธง พระพุทธศักราช 2460
พระราชบัญญัติธง พ.ศ. 2479